อหิวาตกโรค (Cholera)

อหิวาตกโรค เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงและสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว แหล่งที่ เกิดโรคมักเกิดในชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และในถิ่นที่ไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างพอเพียง ไม่มี ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีการสุขาภิบาลไมดี เช่น มีการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ร้านอาหารไม่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล

สาเหตุ เป็นโรคที่เกิดกับลำไส้เล็กโดยเชื้อแบคทีเรีย พบได้กับคนทุกเพศทุกวัยแต่พบ น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มักเกิดในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะหลังความแห้งแล้งไม่มีฝนตกเป็น เวลานาน และมักเกิดหลังจากงานเทศกาล งานฉลองซึ่งมีคนจากที่ต่างๆมารวมกันมาก

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า วิบริโอ คอเลอรี ( Vebrio Cholerae) ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแท้หรือคลาสสิก (classical biotype) และชนิดอ่อนหรือเอลทอร์ (El Tor biotype) ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง การระบาดในประเทศไทยนับตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา เกิดจากเชื้อเอลเทอร์เป็นต้นเหตุ

แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคอยู่ในร่างกาย รวมทั้งผู้ที่เป็นพาหะของโรค

การติดต่อ

เป็นโรคติดต่อชนิดเฉียบพลัน สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผู้ป่วยเป็นผู้แพร่เชื้อ แต่ส่วนมากจะติดต่อทางอ้อมผ่านทางแมลงวัน อาหาร และนํ้าดื่ม เป็นต้น

ในกรณีที่ผู้ป่วยขับถ่ายของเสียลงในแหล่งนํ้าสาธารณะ เชื้อโรคจะสามารถแพร่กระจาย ไปสู่ผู้อื่นได้

การติดต่อทางตรง เชื้ออหิวาต์เข้าสู่ร่างกายโดยทางปาก เช่น การดื่มนํ้าและกินอาหารที่ ไม่สะอาดมีเชื้ออหิวาต์ปะปน การสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วย การถูกผู้ป่วยอาเจียนใส่

การติดต่อทางอ้อม เช่น การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย หรือได้รับเชื้อจากนํ้าดื่มและ อาหารที่ไม่สะอาด เช่น มีแมลงวันมาตอมโดยเชื้อโรคติดมากับแมลงวันในขณะที่บินไปตอม อุจจาระของผู้ป่วย

อาการ

ผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรค อาจมีอาการเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ที่เป็นรุนแรงโรคจะเกิด ขึ้นทันทีและหนัก ทำให้เกิดอาการขาดนํ้า ขาดแร่ธาตุอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษา อย่างทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อคและถึงแก่กรรมได้ง่าย

อาจแบ่งอาการของโรคได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน ลักษณะอุจจาระในระยะแรกจะมีเศษอาหาร ต่อมา จึงถ่ายเป็นนํ้าคล้ายนํ้าซาวข้าวและมีกลิ่นเหม็นคาวจัด ถ้าเป็นอยู่นานๆจะมีนํ้าดีออกมาด้วย ไม่มีมูกเลือด ผู้ป่วยจะอาเจียน และมีอาการขาดนํ้าและแร่ธาตุทำให้อ่อนเพลีย

ระยะที่ 2 ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 2-12 ชั่วโมงจะเข้าสู่ ระยะช็อค โดยจะรู้สึกกระหายนํ้าอย่างรุนแรง เป็นตะคริว เสียงแห้ง แก้มตอบ เบ้าตาลึก ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆแห้ง มือและนิ้วเหี่ยวย่น ตัวเย็น เนื่องจากการเสียเกลือแร่ไปกับอุจจาระมาก ชีพจรและความดันโลหิตจะต่ำจนวัดไม่ได้ ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้

ระยะที่ 3 หากได้รับการรักษาหรืออาการไม่รุนแรงจะเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือระยะกลับเป็นปกติ

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจตายภายในไม่กี่ชั่วโมงเนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ถ้าไม่ทำการรักษาอัตราการตายของโรคนี้จะสูงกว่า 50% แต่ถ้ารักษาให้ถูกวิธีจะช่วยลดอัตราการตายของโรคนี้ได้มาก คือต่ำกว่า 1%

ผู้ที่เป็นอหิวาตกโรคชนิดอ่อน โดยเฉพาะเชื้อ El Tor cholera จะมีอาการคล้ายโรคติดเชื้อของลำไส้หรือทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ทำให้สังเกตได้ยาก เช่น อาจมีอาการเพียงอุจจาระ ร่วงเล็กน้อย หรืออาจไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นหากจะวินิจฉัยสาเหตุให้ แน่นอนได้โดยการเพาะเชื้อจากอุจจาระ

การรักษาพยาบาล

ผู้ป่วยอหิวาตกโรคควรแยกไว้ต่างหากใน Ward หรือในโรงพยาบาลสำหรับโรคติดต่อถ้า ทำได้ ควรเตรียมการไว้ล่วงหน้าเมื่อคาดว่าจะมีการระบาด ในชนบทอาจใช้สถานที่ของโรงเรียน จัดเป็นโรงพยาบาลเอกเทศชั่วคราว ทั้งนี้เพราะเมื่อมีการระบาดจะมีผู้ป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก

ผู้ป่วยหนักหรือช็อคต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ถ้าต้องรับผู้ป่วยจากบ้านควรให้นํ้าเกลือ ระหว่างขนย้าย เตียงผู้ป่วยควรจัดเตียงมีช่องตรงกลางให้ผู้ป่วยนอนถ่ายได้ โดยมีถังสำหรับรอง รับที่สามารถดูลักษณะและวัดปริมาณอุจจาระได้

สำหรับผู้ป่วยที่เสียนํ้า แร่ธาตุ Na, K, Cl และด่างไปกับอุจจาระให้พยายามทดแทนปริมานเท่าที่เสียไป

อหิวาตกโรคในเด็ก ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นพิเศษ เด็กมักมีอาการเปลี่ยนแปลงง่าย เพราะระบบ acid – base Meachanism ยังทำงานไม่เต็มที่ อาจต้องเปลี่ยนแปลงปริมาณนํ้าเกลือที่ให้ตามอาการและในเด็กควรให้นํ้าเกลือผสม Dextrose 5% ด้วย

ยาที่ใช้รักษาไข้หวัดตามอาการ ให้ยาและนํ้าเกลือตามอาการ ควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์

ยาที่ใช้ส่วนใหญ่คือ เทตราซัยคลีน (tetracycline)

วัคซีน การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ให้ผลป้องกันโรคไม่สมบูรณ์ บางแห่งจึงไม่ฉีดเพิ่มเติม

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายอหิวาตกโรค การถ่ายท้องอย่างรุนแรง อาจเกิดจากโรคท้องร่วงอย่างรุนแรง โรคบิด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่นๆ

การปฏิบัติตน

เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็นอหิวาตกโรค นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

ทำลายเชื้อในสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากผู้ป่วยทั้งหมด โดยใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช่น ครีชอล หรือ ไอซาล หรือต้มภาชนะเครื่องใช้ที่ติดเชื้อโรคในนํ้าร้อนเดือดในกรณีที่เป็นอหิวาตกโรคต้องเคร่งครัดเป็นกรณีพิเศษ ทำความสะอาดพื้น อาหาร ห้องนอน ของผู้ป่วยให้สะอาด

การป้องกันและควบคุมโรค นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรคแล้ว ยังมีข้อควรทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรคดังนี้

1.    ควรดื่มนํ้าและรับประทานอาหารที่ สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่รับประทานอาหาร ที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ปรุงสุกแล้วควรมีฝาชีครอบ ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ กำจัดแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะของโรค

2.    ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เมื่อมีการระบาดของอหิวาตกโรค

การควบคุมเมื่อมีการระบาดของอหิวาตกโรค

1.    รายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นทราบโดยด่วน

2.    แยกกักผู้ป่วย จัดให้ผู้ป่วยรักษาในสถานพยาบาลเอกเทศ (ดูรายละเอียดในหัวข้อ การ รักษาพยาบาล)

3.    ทำการกักกันผู้สัมผัสโรค เช่น ผู้รักษาพยาบาลผู้ป่วย เพื่อดูอาการ จนกว่าจะพ้นระยะ ฟักตัวของโรค ประมาณ 5 วันนับจากวันที่ได้ใกล้ชิดผู้ป่วย

4.    ทำการสืบสวนโรค และค้นหาผู้ป่วยที่มิได้แจ้งความ ผู้สัมผัสโรค และพาหะของโรค

5.    ทำการควบคุมสุขาภิบาลอาหาร นํ้าดื่ม นํ้านม กำจัดแมลงวัน

6.    ทำการรักษาพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อตัดวงจรของโรค

7.    ทำลายเชื้อโรคที่ติดมากับสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย และภาชนะที่ผู้ป่วยใช้

แหล่งที่มาอ้างอิง: http://www.healthcarethai.com