สาระน่ารู้ทั้งหมด → ทั่วไป
รู้จัก"โรคเบาหวาน"
โรคเบาหวานคืออะไร: โรคเบาหวานคือโรคที่เซลร่างกายมีความผิดปรกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน
เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับผิดปรกติ
แล้วแค่ไหนจึงจะเรียกว่าผิดปรกติ: ในปัจจุบันหลายประเทศใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลที่ >126 มก./ดล.
โดยมีข้อแม้ว่าเป็นค่าของน้ำตาลในน้ำเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8
ชม. แล้ว แต่ถ้าบังเอิญท่านไม่ได้อดอาหารมาก่อน
แต่ต้องการตรวจเลยโดยไม่อยากกลับมาใหม่ในวันรุ่งนี้
ท่านสามารถเจาะเลือดได้เลยโดยใช้ค่า 200มก./ดล.เป็นเกณฑ์
แล้วทำไมร่างกายเราจึงขาดอินซูลิน: การขาดอินซูลินมีอยู่ 2
แบบหลักๆ
1. ร่ายกายขาดฮอร์โมนอินซูลินจริงๆ หมายถึง อินซูลินเท่ากับศูนย์ ไม่มีเลยทั้งนี้เพราะโรงงานที่ผลิตคือตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่ได้
ส่วนจะผลิตไม่ได้เพราะอะไรยังสามารถแยกแยะต่อไปได้อีก
1.1 ถ้าผลิตไม่ได้เพราะเซลเบต้าที่ผลิตถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของตัวเอง
องค์การอนามัยโลก (WHO classification) ให้เป็น เบาหวานชนิดที่ 1 เขียนสั้นๆ ว่า “DM1”
1.2 ถ้าผลิตไม่ได้เพราะเซลเบต้าถูกทำลายด้วยสาเหตุอื่นเช่น
มะเร็ง เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์แร่เหล็ก
หรืออะไรอย่างอื่นไปตกตะกอนในตับอ่อน หรือตับอ่อนถูกตัด เช่น เกิดอุบัติเหตุ WHO ให้เป็นเบาหวานอื่นๆ (other DM)
เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ต้องฉีดยาตลอดชีวิตจริงหรือ: จริง เพราะร่างกายผลิตอินสุลินไม่ได้เลย
และอินลุลินเป็นโปรตีนไม่สามารถทำเป็นยากินได้เพราะน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะย่อยอินสุลินจนหมดฤทธิ์
จึงจำเป็นต้องฉีดเข้าไป มีการผลิตอินสุลินเป็นยาพ่นจมูก
แต่ผลของการใช้ขึ้นกับเทคนิคของผู้ใช้
ในปัจจุบันการรักษามาตราฐานของเบาหวานชนิดที่ 1 คือการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
ตลอดชีวิตเลยหรือ: ตลอดชีวิต
จนกว่าในอนาคตจะสามารถทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเซลตับอ่อน
หรือตับอ่อนโดยใช้ยากดภูมิคุ้มกันที่ไม่มีผลข้างเคียงมาก
หรือจนกว่าจะสามารถผลิตเครื่องมืออิเลคโทรนิคขนาดเล็กที่สามารถปล่อยอินสุลินออกมาขนาดน้อยๆ
โดยติดตั้งไว้ในช่องท้องแบบตัวอ่อน
และสามารถปรับขนาดอินสุลินตามระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยอัตโนมัติ
(อ่านเรื่อง bionic pancreas ในหน้าบทความสุขภาพ)
ถ้าเป็นเบาหวานชนิดที่
1 ควรทำอย่างไร
นอกจากพบหมอสม่ำเสมอเพื่อเรียนรู้การรักษาด้วยอินสุลินแล้ว การออกกำลังกาย
การวางแผนการรับประทานอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เนื่องจากภาวะนี้มักเกิดในคนอายุน้อย
การรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปรกติมากที่สุดตลอดเวลาจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
2. ร่างกายไม่ได้ขาดอินซูลิน ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้ดี หรืออาจจะผลิตได้มากกว่าปรกติด้วยซ้ำ แต่อินซูลินไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าเซลได้
อย่างนี้พูดได้ว่ามีแต่ก็ใช้ไม่ได้ เสมือนหนึ่งว่าขาด
กลไกแบบนี้ WHO จัดให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เขียนสั้นๆ ว่า “DM2”
แล้วทำไมเราจึงเป็นเบาหวานชนิดที่
2ล่ะ: คำถามนี้ควรถามร่วมกับคำถามอีก1 ข้อไปพร้อมๆ กัน ก็แล้วทำไมเราจึงไม่เป็นเบาหวาน
หรือทำไมบางคนจึงเป็นเบาหวาน ทำไมบางคนจึงไม่เป็นเบาหวาน อะไรเป็นตัวกำหนด
คำถามนี้ต่างหากที่คนส่วนใหญ่อยากทราบ
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับยีนส์ กรรมพันธุ์ พันธุกรรม แล้วแต่อยากจะใช้คำว่าอะไร
แต่ยีนส์หรือกรรมพันธุ์อย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิด "โรค" ได้
จะต้องมีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ปัจจัยของโรคเบาหวานและกลุ่มนี้ก็คือการดำเนินชีวิตแบบสมัยใหม่ civilization
นั่นเอง
อาการของโรคเบาหวานที่พบบ่อย:
·
ปัสสาวะบ่อย
·
กระหายน้ำมาก
หิวมากกว่าปรกติ
·
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
สมาธิไม่มี
·
ชาปลายมือปลายเท้า
·
ตามัว ป่วยบ่อย
ติดเชื้อบ่อย
·
คลื่นไส้ เวียนหัว หงุดหงิด ขบคิดปัญหาง่ายๆ
ไม่ดี
·
แผลหายช้า
·
คันผิวหนัง คันช่องคลอด
อาการที่พบบ่อยนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า
200 มก./ดล. ทั้งนี้เพราะไตสามารถเก็บกักกลูโคสได้มากที่สุดประมาณ
160-180 มก./ดล.
ที่ระดับน้ำตาลสูงกว่านี้กลูโคสเป็นสารที่ดูดน้ำเอาไว้
จึงพาเอาน้ำและเกลือแร่อย่างอื่นเช่นโซเดียม ขับออกมาเป็นปัสสาวะจำนวนที่มากกว่าปรกติ
ผู้ป่วยจะสังเกตได้ง่ายคือแม้ไม่รับประทานน้ำในขณะหลับ ก็ยังต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ
ส่วนอาการผิวแห้ง คัน กระหายน้ำนั้นเป็นผลพวงของปัสสาวะที่มากนั่นเอง ส่วนอาการทางอารมณ์และสมอง
เกิดจากความหนืดของเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสมองสามารถสังเกตได้ค่อนข้างไวนั่นเอง ดังนั้นในคนที่ระดับดับน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์
126 มก./ดล.จึงไม่มีอาการใดๆ และมักจะพบโดยบังเอิญในการตรวจร่างกายประจำปี
วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน
วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน
มีหลายวิธี เช่น คุมอาหาร เลือกอาหารสุขภาพ ลดน้ำหนัก ลดความเครียด
พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
วิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
คือ ออกกำลังกายวันละ 30นาที ต่อวัน สามารถลดการเกิดเบาหวานได้ถึง 40%
โดยการออกกำลัง ทำได้หลากหลาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
แหล่งที่มาอ้างอิง: http://www.diabassocthai.org/,http://www.idf.org/prevention