ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของการตั้งครรภ์และการคลอดคืออะไร
ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
คือพิษจากการตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 10 ของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของมารดาเป็นอันดับ 2 รองจากการตกเลือดหลังคลอด
อาการ
• ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg
• พบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ
• บวม
• ถ้าครรภ์เป็นพิษรุนแรง มารดามีโอกาสเกิดการชัก และ เสียชีวิต
รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
หมายถึง รกเกาะที่ส่วนล่างของมดลูกหรือคลุมถึงปากมดลูก (บริเวณที่รกเกาะปกติคือส่วนด้านบนของมดลูก) ถ้ามีการยืดขยายของปากมดลูก เกิดการฉีกขาดของรก ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด มารดามีโอกาสเสียเลือดมาก อันตรายถึงชีวิตได้
รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta)
เป็นภาวะที่รกลอกตัวจากผนังมดลูกก่อนคลอดบุตรมีโอกาส ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
อาการ
มีอาการปวดมดลูกตลอดเวลาและรุนแรงไม่สัมพันธ์กับการบีบตัวของมดลูก
วิธีการป้องกัน
• ระมัดระวังไม่ให้มดลูกกระทบกระเทือนรุนแรง
• ห้ามกดนวดมดลูก หรือ ห้ามคัดท้อง
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด (Amniotic fluid embolism)
เกิดจากการแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้เซลล์ของน้ำคร่ำหลุดเข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ก่อให้เกิดภาวะระบบการไหลเวียนเลือดและระบบการหายใจของมารดาล้มเหลว
• มีโอกาสเกิดเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว
• อัตราการเกิด 1 ต่อการคลอดกว่า 20,000 ราย
• ถ้าเกิดขึ้นโอกาสที่มารดาจะเสียชีวิตเกือบ 100%
• ไม่สามารถทำนายหรือรู้ล่วงหน้าได้
• ไม่มีวิธีการป้องกันและรักษาที่ชัดเจน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : แผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลทักษิณ
โทร. 077-278-777 ต่อ 4124 , 4125 หรือ หมายเลขโทรศัพท์สายตรง 077-278-779